วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว หอศิลป์

 
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว 
หอศิลป์


สิ่งที่ข้าพเจ้าประทับใจและอยากแนะนำคือ งานศิลปะที่เปิดกว้างให้แก่ผู้คนทั่วไปไม่จำกัดเพศอายุและความคิด เป็นเหมือนการเปิดใจให้ศิลปะทุกแขนง
และยังเปิดให้บุคคลทั่วไปได้มาจัดแสดงงานศิลปะต่างๆอย่างเปิดกว้าง เป็นที่ที่เหมาะกับการสงบใจ มาเดินเงียบๆปล่อยใจไปกับงานศิลป์ ทั้งยีงมีร้านค้าที่ขายไอเดียแปลกๆไม่้หมือนใครมากมาย ทั้งยังไม่เสียค่าเข้าชม เดินทางสะดวก ออกจากที่นี่ก็มีที่ให้เดินมากมาย งานแสดงศิลปะจัดแตกต่างกันไปเรื่อยๆ มำให้ข้าพเจ้าอยากให้ทั้งคนไทยและต่างประเทศได้มาชื่นชมงานฝีมือคนไทย และศักยภาพทางศิลปะของคนไทย

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


“เป็นหอศิลปวัฒนธรรมของประชาชนเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน"
ความเป็นมาของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
จุดเริ่มต้น
ความคิดเรื่องการมีหอศิลป์สำหรับประชาชน ในวงกว้าง เกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่ผ่านมา เนื่องจากในอดีตนโยบายภาครัฐ ยังไม่มีความชัดเจนในการสนับสนุนงาน ด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจัง และเห็นถึง ความสำคัญของการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็น ส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนา ประเทศ สิ่งนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนว ร่วมศิลปินไทยในการสร้างหอศิลปะร่วม สมัย เพื่อให้มีหอศิลป์ที่ทัดเทียมกับสากล และเป็นเกียรติศักดิ์ศรีกับประเทศ รวมทั้ง เพื่อให้สังคมมีแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลป วัฒนธรรม เป็นทางเลือกเพื่อจรรโลงยก ระดับจิตใจควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้า ทางวัตถุ หอศิลป์สำหรับประชาชนควรเป็น การลงทุนจากภาครัฐ โดยไม่แสวงหาผล กำไรทางธุรกิจ เป็นการลงทุนเพื่อ สนับสนุนการพัฒนาเช่นเดียวกับการสร้าง สาธารณูปโภค การสร้างหอศิลป์เปรียบเป็น สาธารณูปโภคทางสมอง หรือ software ทางปัญญาที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการ สร้าง hardware
การก่อสร้างหอศิลป์บริเวณย่านปทุมวัน ซึ่งเป็นแหล่งรวมของเยาวชนวัยรุ่น จึงเป็น ทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดพวกเขาให้ หันมาสนใจและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ กิจกรรมต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรม ได้แสวง หาความรู้ความเข้าใจ ได้แสดงออก และ พักผ่อนหย่อนใจในเวลาเดียวกัน
รณรงค์เพื่อศิลปะ
โครงการก่อการสร้างหอศิลป์ได้เริ่มขึ้นเมื่อ ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ได้มีมติร่วมกับคณะกรรมการโครงการ เฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2538 ให้กรุงเทพมหานครจัดสร้าง หอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร ณ สี่แยกปทุมวัน โดยมีรูปแบบที่ผ่านการ คิดและการตัดสินใจร่วมกัน อย่างไรก็ตาม โครงการต้องมาสดุดหยุดลงเมื่อนายสมัคร สุนทรเวช เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครคนต่อมา ในปี 2544 และล้มเลิกโครงการหอศิลป์ตามรูปแบบ เดิมให้มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์มากขึ้น พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงจากเดิมกรุงเทพ มหานครเป็นผู้ลงทุนมาเป็นให้เอกชนสร้าง องค์กรด้านศิลปะ ศิลปิน อาจารย์ นักศึกษา และสื่อมวลชน ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรม คัดค้านการระงับโครงการเดิม มีการจัด กิจกรรมเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ผู้บริหาร กรุงเทพมหานครในสมัยนั้นทบทวนโครงการ รวมทั้งการจัดกิจกรรมวาดภาพเขียนยาว 4 กิโลเมตร ในหัวข้อ ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า การดำเนินการทาง กฎหมายต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระงับ โครงการฯ และการจัด "ART VOTE" โหวตเพื่อหอศิลป์
กระทั่งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี 2547 เครือข่ายศิลปินและประชาชนจึงได้นำโครงการหอศิลป์เข้าหารือ และ ได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้าง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครตามโครงการเดิม

การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครในสมัยนั้นทบทวนโครงการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
หอศิลปฯ เพื่อมวลชน
นับเป็นเวลา 10 ปี หอศิลปฯ ต้องใช้เวลาเดินทาง ผ่านการผลักดันและรณรงค์อย่าง เข้มข้น จนในที่สุด อาคารหอศิลปฯ ก็เกิดขึ้น ณ สี่แยกปทุมวัน อันเป็นผลสืบเนื่อง มาจากความร่วมมือครั้งสำคัญในการส่งเสริมศิลปะระหว่างกรุงเทพมหานครและ เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร การเดินทาง สู่การ รับรู้ศิลปะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว อาคารงดงามแห่งนี้เป็นเสมือนจุดนัดพบทาง ปัญญา ศิลปะเป็นเรื่องเข้าถึงง่ายและชื่นชมง่าย ทุกคนสามารถมารวมตัวกันเพื่อร่วม กิจกรรมด้านศิลปะอันหลากหลาย นิทรรศการหมุนเวียน ดนตรี กวี ละคร ภาพยนตร์ เสวนา และวรรณกรรม เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ นำไปสู่ความเจริญ ทางปัญญา สุขภาพทางใจ และการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ต่อไป
ภาพเขียนในการรณรงค์ "ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า" บริเวณพื้นที่อันเป็นที่ตั้งอาคารหอศิลปฯ ในปัจจุบัน
 
                                              
 ที่อยู่
ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกปทุมวัน หัวมุม ถ.พระราม 1 และ ถ.พญาไท ตรงข้ามห้างมาบุญครอง และ สยามดิสคัฟเวอรี่ มีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้า BTS สนามกีฬาแห่งชาติ

การเดินทาง
รถประจำทาง
สาย 15, 16, 21, 25, 29, 34, 36, 40, 47, 48, 50, 54, 73, 73ก, 79, 93, 141, 159, 204, ปอ.501, ปอ.508 และ ปอ.529
เรือ
เรือสายในคลองแสนแสบ เส้นทางสะพานผ่านฟ้า-ประตูน้ำ ขึ้นที่ท่าเรือสะพานหัวช้าง เดินเลียบถนนพญาไทประมาณ 300 เมตร ถึงหอศิลปฯ (ก่อนถึงสี่แยกปทุมวัน)
รถไฟฟ้าบีทีเอส
ลงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทางออกที่ 3 เดินตรงไปด้านซ้ายมือเป็นทางเชื่อมเข้าสู่หอศิลปฯ บนชั้น 3 ของหอศิลปฯ
รถยนต์
เดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ
• เส้นทางถนนพญาไท (จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ข้ามสะพานหัวช้าง ชิดขวาเข้า ทางเข้าหอศิลปฯ (ด้านหลังอาคาร ก่อนถึงสี่แยกปทุมวัน)
• เส้นทางถนนพระราม 1 (จากสนามกีฬาแห่งชาติ) เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพญาไท และเลี้ยวซ้าย เข้าทางเข้าหอศิลปฯ
หอศิลปฯ มีทางเข้าสำหรับรถยนต์ด้านเดียว คือ ถนนพญาไท มีที่จอดรถให้บริการชั้นใต้ดิน ที่จอดรถ
วันและเวลาเปิดบริการ
เปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-21.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์ และช่วงวันหยุดปีใหม่และสงกรานต์)
ส่วนสำนักงาน เปิดบริการ เวลา 9.30-18.30 น.



ข้อมูลการเยี่ยมชม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ระเบียบการเข้าชมนิทรรศการ
• ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มเข้าในพื้นที่นิทรรศการ
• ห้ามจับต้องผลงานโดยเด็ดขาด หากนำเด็กเล็กมาด้วยต้องดูแลไม่ให้จับต้องผลงาน
• ไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนผู้ชมนิทรรศการท่านอื่น
• การเข้าชมนิทรรศการชั้น 7-9 กรุณาฝากกระเป๋าและสัมภาระที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ชั้น 5
• ห้ามใช้แฟลซ และขาตั้งกล้อง ในการถ่ายภาพ
• ห้ามถ่ายรูปในห้องนิทรรศการชั้น 7 8 9
ค่าเข้าชม
ไม่มีค่าเข้าชม ยกเว้นการจัดกิจกรรม และการแสดงเป็นกรณีพิเศษ

ส่วนนิทรรศการหลัก อยู่ชั้น 7, 8, 9 เป็นพื้นที่ของห้องนิทรรศการหลัก ที่มักใช้จัดแสดงงานนิทรรศการขนาดใหญ่ ซึ่งหอศิลปฯ เป็นผู้ริเริ่มขึ้นเองเป็นส่วนใหญ่ หรือ bacc exhibition
ส่วนนิทรรศการย่อย กิจกรรมศิลปะ ร้านค้า และห้องสมุด ประกอบไปด้วยพื้นที่หลากหลาย ได้แก่
• ชั้น 5 - ห้องออดิทอเรียม ห้องประชุม และเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์
• ชั้น 4 – ห้องสตูดิโอ ห้องประชุม และร้านค้า
• ชั้น 3 – ร้านค้า และทางออกไปยัง Skywalk สู่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ
• ชั้น 2 – People’s gallery ร้านค้า และองค์กรศิลปวัฒนธรรม
• ชั้น 1 – โถง และห้องอเนกประสงค์
• ชั้น L – ห้องสมุดศิลปะ และโถงด้านหน้า
 เดินชมร้านค้าและ People’s gallery ตามชั้นต่างๆ
ที่ชั้น 6 เป็นที่ตั้งของสำนักงานหอศิลปฯ ใครที่ประสงค์จะติดต่อให้ตั้งต้นที่ชั้น 5 ขึ้นบันไดด้านซ้ายมือ ถ้าเดินไม่ไหวก็ใช้ลิฟท์ตัวเดียวกับที่ขึ้นไปที่ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7,8, 9และมีบริการพิเศษสำหรับผู้พิการ
 

ระเบียบการถ่ายภาพ

• ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพและภาพเคลื่อนไหวในทุกพื้นที่ ที่ชั้น 7, 8 และ 9 ยกเว้นผู้ที่แขวนบัตรอนุญาตถ่ายภาพ และยกเว้นนิทรรศการที่อนุญาตให้ถ่ายภาพได้ แต่ห้ามใช้แฟลซ และขาตั้งกล้องในการถ่ายภาพ
• ผู้เยี่ยมชมทั่วไปอนุญาตให้ถ่ายภาพนิ่งได้ในชั้นอื่นๆ โดยห้ามใช้แฟรชและขาตั้งกล้อง
• สื่อมวลชนที่จะถ่ายภาพ ชั้น 7, 8 และ 9 และถ่ายภาพเคลื่อนไหว จะต้องติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานชั้น 6
• นักเรียน นักศึกษา ที่ประสงค์จะถ่ายภาพ ชั้น 7, 8 และ 9 และถ่ายภาพเคลื่อนไหว เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการศึกษา จะต้องทำจดหมายขออนุญาตล่วงหน้าและให้ติดต่อที่สำนักงานชั้น 6
• บุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะถ่ายภาพเพื่อจุดประสงค์อื่น เช่น ธุรกิจ แฟชั่น งานแต่ง ฯลฯ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว จะต้องทำจดหมายขออนุญาตตามระเบียบการขอใช้พื้นที่ และให้ติดต่อที่สำนักงานชั้น 6
• กรณีมีการจัดแถลงข่าว พิธีเปิด หรือกิจกรรมต่างๆ ซึ่งมีการเชิญสื่อมวลชนมาร่วมงาน อนุญาตให้สื่อมวลชนถ่ายภาพได้เฉพาะงานนั้นๆ ในวันและช่วงเวลาของงานนั้น โดยไม่ต้องขออนุญาตและแลกบัตร แต่หากสื่อมวลชนประสงค์จะถ่ายภาพบริเวณอื่น จะต้องขึ้นมาติดต่อและแลกบัตรอนุญาตถ่ายภาพ ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานชั้น 6 ตามปกติ
• ศิลปินผู้แสดงงาน หรือผู้จัดงาน ที่แสดงความประสงค์จะถ่ายภาพผลงานของตนเองที่ชั้น 7, 8 และ 9 ให้ขึ้นมาแลกบัตรถ่ายภาพที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ชั้น 6 โดยได้รับการรับรองการเป็นศิลปินหรือผู้จัดงานจากฝ่ายนิทรรศการ และให้ถ่ายภาพเฉพาะผลงานของตนเองเท่านั้น
• ห้ามถ่ายภาพนิทรรศการหรือกิจกรรมที่ผู้จัดไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพ

นิทรรศการ

CROSS_STITCH : ข้าม_ตะเข็บ นิทรรศการข้ามมุมมองเพื่อนำเสนอผลงานของศิลปินรุ่นใหม่
วันที่ : 02 ส.ค. - 01 ก.ย. 2556
สถานที่: ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7
ดำเนินงานโดย ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
เปิดนิทรรศการ 1 สิงหาคม 2556 เวลา 18:30 น

การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 59
วันที่ : 04 กันยายน - 27 ตุลาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น